ปราสาทหินพิมาย

   
 

 
        ปราสาทหินพิมายเป็นปราสาทที่มีความใหญ่โตและมีความงดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ทั้งยังเป็น โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทยอีกด้วย ตัวปราสาทอยู่ใกล้กับแม่น้ำมูล ปราสาท หินพิมายชนชาติขอมในสมัยโบราณได้สร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 16 - 17 ซึ่งตรงกับ รัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ต่อมาพระเจ้าสุริยวรมันที่ 6 และที่ 7 ได้สร้างต่อเพิ่มเติม ปราสาทหินพิมาย เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ใจ กลางเมืองพิมาย อำเภอพิมายจังหวัดนครราชสีมาอันเป็นจังหวัดใหญ่ เป็นประตูเข้าสู่ดินแดน อีสานการสร้างปราสาทหินพิมายนอกจากจะสร้างเป็นพุทธสถานและ เทวสถานตามแบบ ศาสนาฮินดูแล้ว ยังหมายถึงลัทธิการบูชาบุคคล อันเป็นคติความเชื่อของคนพื้นเมือง โบราณหลายเผ่า เช่น จาม ชวา บาหลี และขอม เป็นต้น เชื่อกันว่า ผู้สร้างปราสาท เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะเข้าไปสถิตย์รวม อยู่กับเทพเจ้า ปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นไว้เนื่องใน

ศาสนาพุทธลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ทั้งสามนิกาย เพื่อเป็นพุทธศาสนสถานและเทวสถานของ มหาชนทั้งชาวพุทธแลพราหมณ์ ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัตในประเทศกัมพูชาและก่อนปรา สาทหินพนมรุ้ง จัดเป็นโบราณสถานที่มีความสวยงาม ทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม และ เป็นต้นแบบของปราสาททุกแห่งในภาค พื้นเอเชีย ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามา รถของคนในสมัยนั้นอีกด้วยการสร้างปราสาททั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เกิดจากความเชื่อที่ว่า เขาพระสุเมรุ คือแกนกลางของโลก อันหมายถึงองค์ปราสาท ที่เป็นจุดศูนย์กลาง ส่วนกำแพงล้อมรอบ หมายถึงอาณาเขตแห่งจักรวาล ต่อจากนั้นก็เป็น มหาสมุทรนทีสีทันดร สระน้ำที่อยู่ถัดจากปราสาท หมายถึงมหาสมุทรนั่นเอง ส่วนปราสาทแต่ละชั้น หรือแต่ละเขตก็จะมีสัตว์หิมพานต์ เช่น มีพญานาค ครุฑ ยักษ์ เทวดา ไปจนถึง พระนารายณ์ พระอิศวรปราสาทองค์ประธาน อันเป็นแกนแห่งเขาพระสุเมรุ เป็นที่ประดิษฐาน พระศิวลึงค์ หรือรูปเคารพที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ รูปเคารพที่ปราสาทหินพิมาย เชื่อว่าเป็น กมรเตงคตวิมาย เป็นรูปเคารพที่สำคัญที่สุดของพุทธสถาน ชื่อนี้กล่าวไว้ในจารึก ปราสาทหินพิมายเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง คือ สร้างมาแล้วเกือบ 2,000 ปี เชื่อกันว่า พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งกัมพูชาเป็นผู้สร้าง (พ.ศ. 1545-1592) สร้างและบูรณะเรื่อยมาจนถึงสมัยพระ เจ้าชัยวรมันที่ 7 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 นี้ เชื่อว่ามีการสร้างปราสารรุ่นเดียวกัน คือ ปราสาทหินพนมวัน (วัดพนมวัน จ.นครราชสีมา) และปราสาทหินพนมรุ้ง (จ.บุรีรัมย์)

 

รูปแบบของปราสาทหินพิมาย
        ประกอบด้วยกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมด้วยรอบสร้างด้วยหินทรายแดง มีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ ประตูใหญ่อยู่ทางทิศใต้ (หน้าปราสาทหันไปทางทิศใต้) ซึ่งตรงกับประตูเมืองคือ ประตูชัย ตัวปราสาทมี 3 องค์ ประกอบด้วยปรางค์ประธานหรือปราสาทหลังกลาง มีปรางค์อีก 2 องค์ เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง (ชาวบ้านเรียกปรางค์นาอรพิน)หลังปราสาทหินแดงเป็นหอพราหมณ์ ทั้งหมดนี้มีระเบียงคตล้อมรอบ ด้านตะวันตกมีบรรณาลัยอยู่ด้านหลังมีกำแพงสี่เหลี่ยมล้อมรอบ และมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ เป็นคูหาติดต่อถึงกันตลอด ด้านเหนือและด้านใต้กว้าง 220 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาว 277.50 เมตรถัดจากกำแพงจะเป็นลานกว้างใหญ่ มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุมของตัวปราสาท และจากบริเวณลานเข้าไปถึงระเบียงคต(กำแพงชั้นใน) มีทางกว้าง 2.35 เมตร ทะลุถึงกันทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหินบริเวณชั้นในของตัวปราสาท (ปรางค์ 3 หลัง อาคารอีก 3 หลัง) มีลานทางด้านเหนือและด้านใต้กว้าง 58 เมตร ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกยาว 66 เมตร
 

รายละเอียดโบราณสถานภายในตัวปราสาทหินพิมายมีดังนี้

 

ปรางค์ประธาน  

เป็นสถาปัตยกรรมหลักและเป็นศูนย์กลางของศาสนาสถานแห่งนี้ สร้างด้วยหินทรายขาว หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง 28 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 22 เมตร มีมุข 3 ด้าน คือ ทางทิศเหนือ ตะวันออกและตะวันตก ส่วนยอดปรางค์หรือหลังคาทำเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นกันไป เรียกว่าชั้นเชิงบาตร รวม 5 ชั้น ประดับด้วยกลีบขนุนปรางค์และประติมากรรมหินทรายเป็นรูปสัตว์และเทพต่าง ๆ ยอดบนสุดสลักเป็นรูปดอกบัว
 
 
หอพราหมณ  
        หอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายและมีศิลาแลงแซมบางส่วน อยู่ด้านหน้าของปรางค์ประธานทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมหินผ้าขนาด 6.50 X 17 เมตร มีมุกขื่นออกไปเป็นบันได้และประตูเข้า - ออก ภายในอาคารพบศิวลึงค์หินทราย จึงเชื่อว่าคงเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นเหตุ เรียกว่า หอพราหมณ์
 
ปรางค์หินแดง  
        ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับหอพราหมณ์ สร้างด้วยหินทรายสีแดง ฐานปรางค์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไป 4 ทิศ ที่มุขแต่ละด้าน มี 1 ประตู จากการขุดแต่งพบว่าแท่งหินที่ใช้ต่อฐานบางท่อนมีลวดลายสลัก แต่วางกลับข้างจากบนลงล่าง แสดงว่าคงรื้อเอาวัสดุเก่ามาใช้ในการก่อสร้างและคงสร้างพรอ้มกับหอพราหมณ์เนื่องจากอยู่บนฐานเดียวกัน
 
ปรางค์พรหมทัต  
        ตั้งอยู่แนวเดียวกันกับปรางค์หินแดง สร้างด้วยศิลาแลงฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 14.50 เมตร สูง 16 เมตร ภายในพบประติมากรรมหินทรายรูปบุคคล 2 รูป รูปหนึ่งเป็นบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระเจ้าขัยวรมันที่ 7 ซึ่งเรียกกันว่าท้าวพรหมทัต อีกรูปหนึ่งเป็นสตรีนั่งคุกเข่า ศรีษะ และแขนขาด ไปเหลือแต่ลำตัว เชื่อกันว่าเป็นรูปของพระนางราชเทวีมเหสีของพระเข้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกกันว่า นางอรพิมพ์
 
ฐานอาคาร  
        ตั้งอยู่ระหว่างซุ้มประตูกำแพงชั้นในด้านทิศตะวันออกกับปรางค์ประธานมีลักษณะคล้ายฐานปรางค์ สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 8.15 เมตร สูง 70 เมตร
 
ธรรมศาลา  
        ก่อนจะเข้าสู่บริเวณภายในกำแพงปราสาทหินพิมาย มีอาคารหลังหนึ่งตั้งอยู่ทางซ้ายมือหันหน้าเข้าสู่ถนน เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 26 x 35.10 เมตร สร้างด้วยหินทราย มีบันไดและประตูเข้าสู่อาคารทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกข้าง ๆ ประตูจริงเป็นประตูหลอกด้านละ 1 ประตู มีการกั้นแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยทุกห้องมีประตูทะลุถึงกันอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงยามเสด็จมาประกอบพิธีทางศาสนา รวมทั้งเป็นที่พักจัดขบวนปัจจัย ของถวายต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธี
 
สะพานนาคราช  
        เป็นสะพานสร้างด้วยหินทรายตั้งอยู่ตรงหน้าซุ้มประตูกำแพงชั้นนอกเป็นรูปกากบาทขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 3170 เมตร ยกพื้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร มีบันไดขึ้นลง 3 ด้าน เชิงบันไดทำเป็นอัฒจันทร์ รูปปีกกา ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวของนาคราชชูคอแผ่พังพางมี 7 เศียรที่เชิงบันไดมีประติมากรรมรูปสิงห์ทำด้วยหินทราย เสาและขอบสะพานสลักลวดลายงดงาม
 
 
 
 
กำแพงชั้นนอกและซุ้มประตู
 
กำแพงชั้นนอก  
        สร้างด้วยหินทราย มีศิลาแลงแทรกเป็นบางส่วนขนาดประมาณ 220 X 277.50 เมตรมีประตูหลอกทำเลียนแบบบานประตูไว้ 2 บาน กำแพงชั้นนอกด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดคือยังมีความสูงเหลืออีก 8 เมตร
 
ซุ้มประตู  
        ที่กึ่งกลางกำแพงชั้นนอกทั้ง 4 ด้านเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกกันว่าโคปุระ สร้างดินหินทรายผังโดยรวมของประตูซุ้ม มีลักษณะเป็นรูปกากบาท มีประตูผ่านเข้าได้ 3 ทาง คือ ประตูกลางผ่านทางห้องมุขและประตูข้างทางห้องริมสุด 2 ข้าง
 
ทางเดินเข้าสู่ปราสาท  
        เป็นทางเดินที่สร้างดินหินทรายสูงขึ้นมาประมาณ 1 เมตร มีบันไดลงจากทางเดินสู่พื้นล่างที่มุมทั้งสี่ และทั้งสองข้างของช่องกลางตลอดแนว ทางเดินที่เชื่อมตัดกันมีหลุมเสาตั้งเรียงกันอยู่เป็นระยะ ๆ จาการขุดแต่งบริเวณนี้ใน พ.ศ.2530 ได้พบเศษกระเบื้องและบภลีดินเผาเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานได้ว่ายกพื้นทางเดินทั้งหมดนี้มีลักษณะเป็นระเบียงโปร่ง หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผารองรับด้วยเสาไม้ซึ่งผุพังไปหมดแล้ว
 
บรรณาลัย  
        ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอกซีกตะวันตก ระหว่างประตูซุ้มกำแพงชั้นในและชั้นนอก เป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้าง25.50 X 26.50 เมตร
จำนวน 2 หลัง อาคาร 2 หลังนี้จัดเป็นอาคารใหญ่ ไม่มีหลักฐานให้ทราบชัดถึงประโยชน์ใช้สอยที่แท้จริง เรียกต่อ ๆ กันมาว่า
บรรณาลัย ซึ่งหมายถึง สถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ต่าง ๆทางศาสนาเทียบกับวัดของเราในปัจจุบันก็คงจะเทียบได้กับ“หอไตร”นั่นเอง
แต่เมื่อพิจารณาสภาพภายในอาคารแล้วชวนให้สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น อาจเป็นที่ประกอบศาสนกิจของ
พระสงฆ์ในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน อันเป็นศาสนาหลักของศาสนาสถานแห่งนี้ หรืออาจเป็นที่พัก กระบวนเสด็จของกษัตริย์
หรือเจ้านายก็เป็นได้ 
 
สระน้ำ  
        ตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของลานชั้นนอก มีขนาดไม่เท่ากันและตำแหน่งที่ตั้งก็ไม่อยู่ในแนวตรงกันนอกจากนี้ที่บริเวณนี้ยังเคยเป็นที่ตั้งของวัดต่าง ๆ ซึ่งได้ย้ายออกไปสร้างใหม่ข้างนอกปราสาทแล้ว รวมทั้งสิ้น 4 วัด คือวัดสระหิน วัดพระปรางค์ใหญ่ วัดโบสถ์ (ซึ่งมีพระอุโบสถ เรียกกันว่า โบสถ์เจ้าพิมาย) และวัดพระปรางค์น้อย จากการที่เรียกชื่ออุโบสถว่า โบสถ์เจ้าพิมายประกอบกับได้พบ พระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย เมือครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธมาสะสมกำลังตั้งตัวเป็นใหญ่คราวเสียกรุงครั้งที่สอง เรียกว่า ก๊กเจ้าพิมาย สระน้ำทั้งหลายจึงคงเป็นสระน้ำที่วัดเหล่านั้นขุดขึ้นมาใช้ประจำวัดนั่นเอง
 
 
 
 
กำแพงชั้นในและซุ้มประตู
 
กำแพงชั้นใน  

        กำแพงชั้นใน สร้างด้วยหินทรายเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ล้อมรอบลานปราสาทชั้นใน กว้าง 2.35 เมตร ยาวจากเหนือ - ใต้ 72 เมตร จากตะวันออก - ตะวันตก 80 เมตร อยู่สูงจากพื้นดิน 1 เมตร ภายในเดินทะลุถึงกันได้ ส่วนผนังด้านนอกปิดทึบ ทำเป็นหน้าต่างหลอดประดับด้วยลูกมะหวด

 

ซุ้มประตูของกำแพงชั้นใน  

        สร้างด้วยหินทรายเช่นกัน มี 4 ประตู ลักษณะคล้ายซุ้มประตูกำแพงชั้นนอก แต่เล็กกว่ามีจารึกบนกรอบประตูด้วยอักษรของโบราณกล่าวถึงชื่อ “กมรเตงชคตวิมาย” และการสร้างรูปเคารพชื่อ “กมรเตงชคตเสนาบดีไตรโลกยวิชัย”ใน พ.ศ.1651 ทับหลังของซุ้มประตูส่วนใหญ่พังทลายลง ปัจจุบันได้นำบางส่วนเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายส่วนที่เหลือได้นำไปติดตั้งที่โบราณสถานแล้ว ภาพสลักทับหลังดังกล่าวเป็นศิลปะแบบปาปวนนครวัด

 
เมรุพรหมทัต  
        ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทหินพิมายเป็นซากเนินเจดีย์ขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐ สาเหตุที่เรียกชื่อว่าเมรุพรหมทัตนั้นคงเป็นเรื่องเชื่อมโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่องนางอรพิมพ์กับท้าวปาจิต ซึ่งเล่ากันว่าสถานที่นี้ คือที่ถวายพระเพลิงท้าวพรหมทัตปราสาทหินพิมายมีลักษณะเด่นและสำคัญคือ 
เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่โต ได้รับการบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ 2507 และเสร็จเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ตามหลักวิชาบูรณะแบบ อนัสติโลซิส ลวดลายจำหลักมีคุณค่าสูงส่งทางศิลปะได้มีพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พิมายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2532 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน
 

 
ลักษณะทั่วไปของปราสาทหินพิมาย

        ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของเมือง พิมาย ริมฝั่งแม่น้ำมูล เมืองนี้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางพื้นที่ราบ ที่เรียกกันว่า ทุ่งสัมฤทธิ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญ เพราะพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ปราสาทแห่งนี้เป็นพุทธสถานของพุทธศาสนามหาญาณ ลักษณะแผนผังของพุทธสถานเป็นรูปกากบาท ประกอบด้วยอาคารสำคัญ 3 หลัง คือ ปรางค์ใหญ่ ปรางค์พรหมทัต และปรางค์หินแดง อยู่บริเวณชั้นในของซุ้มประตู คูหาติดต่อกันสี่ทิศรูปกากบาท มุมกำแพงอันเป็นลานชั้นนอก มีสระน้ำอยู่ทั้ง 4 มุม ประตูทางเข้าด้านทิศใต้ เป็นด้านหน้าของปราสาท จะมีสะพานนาคเป็นทางเข้าสู่ตัวปราสาท

 

ปราสาทหินพิมาย 

      เป็นพุทธสถานมหาญาณที่สวยงามอย่างยิ่ง ปรางค์ใหญ่องค์ประธาน จะประกอบด้วย เรือนธาตุ คือ รูปอาคารสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่นออกทั้ง 4 ทิศ แต่ละมุขทิศ จะมีรูปสลักเป็นพระพุทธรูป ดังนี้

มุขทิศใต้ พระพุทธรูป ปางนาคปรก

มุขทิศตะวันตก พระพุทธรูป ปางเทศนาแก่พญามาร

มุขทิศเหนือพระพุทธรูป ปางพระวัชรสัตว์ 5 พระองค์

มุขทิศตะวันออก พระพุทธรูป เป็นพระทรงเครื่อง ปางสมาธิ 10 องค์

 

ที่หน้าบันของมุขประสาท    
 

    ทั้ง 4 ด้าน มีภาพสลักสวยงาม ดังนี้

หน้าบันมุขด้านใต้ สลักเป็นภาพ พระอิศวรฟ้อนรำ 108 ท่า เรียก ภาพ ศิวนาฏราช 

หน้าบันมุขด้านตะวันตก สลักเป็นภาพ พระกฤษณะ กำลังยกภูเขาโควรรธนะ และเรื่องรามเกียรติ ตอนพระรามจองถนน 

หน้าบันมุขทิศเหนือ สลักเป็นภาพ การรบในเรื่องรามเกียรติ์ และรูปพระนารายณ์ 4 กร 

หน้าบันมุขด้านตะวันออกสลักเป็นภาพรามเกียรติ์ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและ
ภาพพระรามฆ่ายักษ์วิราธ

 

ปรางค์พรหมทัต 

อยู่ด้านซ้ายของปรางค์ใหญ่ มี ประติมารูปท้าวพรหมทัต และ ประติมารูปนางอรพิมปรางค์หินแดง เป็นศาสนสถาน สร้างด้วยหินทรายสีแดงส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญของปราสาทหินพิมายที่น่าสนใจมีหลายแห่ง เช่น ประตูชัย คลังเงินหรือธรรมศาลา เสาประกอบพิธีบูชาไฟ พลับพลา กุฎีฤาษี โบสถ์เจ้าพิมาย และเมรุพรหมทัต เป็นต้น