อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

 
     จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบันเป็นปากประตูเปิด ไปสู่ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ และเป็นศูนย์กลางสำคัญของ ภาคอีสานของประเทศไทย ด้วยพัฒนาการตั้ งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ที่ มนุษย์รู้จักเพียงการใช้หินมาทำ เครื่องมือ เครื่อง ใช้ จนกระทั่งมนุษย์ในอดีตที่ราบสูง บริเวณแอ่งโคราชแห่งนี้ รู้จักเทคนิค วิธีการตัดหินจากภูเขา แล้วยกเอาหินก้อนใหญ่ ๆ มาเป็นระยะทางไกล ๆ เพื่อก่อสร้างสิ่งที่เราเรียกว่า'ปราสาท'ปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั้น ก็คือ ปราสาทหินพิมาย ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งย่อมแสดงให้เห็นถึง ความเป็นศูนย์กลางและเป็นปากประตูสำคัญ จากลุ่มแม่น้ำมูล ไปสู่เมืองพระนคร ของอาณาจักรกัมพูชา และบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างน้อยก็ตั้งแต่ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมาปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนั้น ก็คือ ปราสาทหินพิมาย ในเขตจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งย่อมแสดงให้เห็นถึง ความเป็นศูนย์กลางและเป็นปากประตูสำคัญ จากลุ่มแม่น้ำมูล ไปสู่เมือง พระนครของอาณาจักรกัมพูชา และบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างน้อยก็ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เป็นต้นมา

 
     พิมายนั้น เป็นเมืองโบราณในลุ่มน้ำมูลที่มีอดีตอันรุ่งเรืองและมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ตัวเมืองโบราณ มีคูน้ำ กำแพงเมืองล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน มีประตูเมืองทั้ง ๔ ทิศ ก่อด้วยศิลา ปัจจุบันเหลือให้เห็นชัดเจนเพียงด้านทิศใต้ที่หันหน้าไปสู่เมืองพระนครในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันบริเวณ กลางเมือง มีศาสนสถานขนาดใหญ่ ก่อสร้างด้วยหินตั้งอยู่ ซึ่งก็คือ ปราสาทหินพิมายนั่นเองปราสาทหินพิมาย นับเป็นพุทธศาสนสถาน ในลัทธิมหายาน ที่สร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ กล่าวคือ สร้างขึ้นก่อนปราสาทหินนครวัด และลักษณะของหลังคา ปราสาทพิมาย ได้เป็นต้นแบบของการก่อสร้างปราสาท นครวัดของเขมร ในสมัยต่อมา เนื่องจาก ปราสาทหินพิมายนี้หันหน้าไปทางทิศใต้จึงเข้าใจว่าเพื่อรับกับถนนที่ตัดมาจากกัมพูชา ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘และมีการสร้างอโรคยศาลา และที่พักเดินทาง ขึ้นตามแนวถนน จนถึงพิมาย ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗ มหาราชองค์สุดท้ายของกัมพูชา โบราณสถานในเมืองพิมาย นั้นปรากฏ มีอยู่หลายแห่งทั้งนอก เมืองและในเมืองโบราณพิมาย แต่ที่สำคัญ ได้แก่ ปราสาทหินพิมาย เกือบทั้งหมดมีสภาพปรักหักพัง ทรุดโทรมไปตามกาลเวลาใน พ.ศ. ๒๕๐๗ กรมศิลปากร ได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนการบูรณะองค์ปรางค์ ประธานของปราสาทหินพิมาย จนแล้วเสร็จ ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ ในที่สุด เมืองพิมายและปราสาทหินพิมายก็ได้รับบรรจุให้เป็นโครงการ อุทยานประวัติศาสตร์พิมายเพื่อดำเนินการบูรณะโบราณสถานใน กลุ่มเมืองพิมาย ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ของชาติ นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นต้นมา จนแล้วเสร็จ และเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ อย่างเป็นทางการเมื่อ ๑๒ เมษายน ๒๕๓๒ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธี ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ได้บูรณะพัฒนา จนเกือบสมบูรณ์แล้ว เปิดบริการ ประชาชนและนักท่องเที่ยว ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ - ๐๘.๐๐ น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและ วันหยุดนักขัตฤกษ์