วิธีการเดินสายไฟฟ้าในอาคารและในโรงงาน
การติดตั้งไฟฟ้าประกอบด้วยการเดินสาย การติดตั้งอุปกรณ์ทั่วไป รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน
การติดตั้งไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบ่งตามวิธีการเดินสายไฟฟ้าและแบ่งตามวิธีการติดตั้งดังนี้
1. แบ่งตามวิธีการเดินสายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
ก. แบบเปิด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบเดินลอย การเดินสายวิธีนี้สามารถมองเห็นสายไฟฟ้า
ได้อย่างชัดเจน เช่นการเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสาย เป็นต้น
ข. แบบปิด สายไฟฟ้าจะถูกซ่อนไว้อย่างมิดชิด เป็นการป้องกันการกระแทกจากภายนอก
ได้แก่ การเดินสายในท่อ ในรางเดินสาย (wire way) และรางเคเบิล (cable tray) เป็นต้น
2. แบ่งตามวิธีการติดตั้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือการติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร – ในโรงงานและ
การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคาร
5.1 การเดินสายไฟฟ้าในอาคารและในโรงงาน
การเดินสายไฟฟ้าในอาคารหมายถึงการติดตั้งอุปกรณ์และเดินสายไฟฟ้าภายในตัวอาคารเริ่มตั่งแต่
แผงจ่ายไฟรวมเรื่อยมาถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัว ได้แก่ การเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสายการเดินสาย
ไฟฟ้า ในท่อร้อยสาย เป็นต้น
สำหรับการติดตั้งในโรงงาน ส่วนใหญ่จะเดินสายในท่อร้อยสาย รางเดินสาย (wire way) แล ะรางเคเบิล
(cable tray) เป็นต้น
5.1.1 การเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย โดยทั่วไปจะใช้สายแบนแกนคู่หรือที่เรียกว่าสาย VAF
มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น สามารถดัดโค้งงอและยืดหยุ่นได้ดี อายุการใช้งานยาวนานเกิน 10 ปี การเดินสายไฟฟ้าีนี้
ไม่เหมาะที่ จะใช้ติดตั้งภายนอกอาคาร เนื่องจากแสงแดดจะทำให้ฉนวนเสื่อมคุณภาพก่อนเวลาอันควร
เมื่อฝนตก จะทำให้ลัดวงจร
ข้อดีการเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย
1. ติดตั้งง่ายรวดเร็ว
2. ซ่อมแซมหรือแก้ไขได้ง่าย
3. ค่าแรงงานถูก
รายละเอียดการเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย สรุปได้ดังนี้
1. สายไฟฟ้า จะต้องรู้ขนาดของสายไฟฟ้า (บอกเป็นตารางมิลลิเมตร (มม.)2) และจำนวนสาย
กี่เส้น ถ้าหากใช้สายเล็กเกินไป จะทำให้สายร้อนจนฉนวนละลาย
2. เข็มขัดรัดสาย เมื่อทราบขนาดและจำนวนสายไฟฟ้าที่จะเดินไปยังจุดต่างๆ ช่างเดินสายไฟฟ้าจะต้องเลือกเข็มขัดรัดสายให้พอดี
เพื่อความรวดเร็วขณะปฏิบัติงาน เมื่องานเสร็จสมบูรณ์จะมองดูสวยงาม มีหลักปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้
2.1 กรณีเดินสายเส้นเดียว ควรเลือกขนาดเข็มรัดสายให้พอดีกับขนาดของสายไฟฟ้า
2.2 กรณีเดินสายตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป เช่นสายจำนวน 3 หรือ 4 เส้น ถ้าหากสามารถรัดด้วยเข็มขัดรัดสายเพียงตัวเดียว
จะทำให้ปฏิบัติงานให้เร็วขึ้น แต่ควรพิจารณาถึงความแข็งแรงในการยึดระหว่างสายไฟกับผนังอาคาร
3. ตะปู อาคารที่เป็นไม้จะใช้ตะปูขนาด 1/2 นิ้ว ส่วนอาคารคอนกรีตฉาบปูนจะใช้ขนาด 5/16 นิ้ว
หรือ 3/8 นิ้ว
โดยทั่วไปช่างเดินสายไฟฟ้าจะทำกล่องไม้สำหรับจัดเก็บตะปู เข็มขัดรัดสาย ลักษณะดังรูป
|
5.1 การเดินสายไฟฟ้าในอาคารและในโรงงาน
|
วิธีการเดินสายไฟฟ้าในอาคารและในโรงงาน การติดตั้งไฟฟ้าประกอบด้วยการเดินสาย การติดตั้งอุปกรณ์ทั่วไป รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน การติดตั้งไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบ่งตามวิธีการเดินสายไฟฟ้าและแบ่งตามวิธีการติดตั้งดังนี้ 1. แบ่งตามวิธีการเดินสายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ก. แบบเปิด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบเดินลอย การเดินสายวิธีนี้สามารถมองเห็นสายไฟฟ้า ได้อย่างชัดเจน เช่นการเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสาย เป็นต้น ข. แบบปิด สายไฟฟ้าจะถูกซ่อนไว้อย่างมิดชิด เป็นการป้องกันการกระแทกจากภายนอก ได้แก่ การเดินสายในท่อ ในรางเดินสาย (wire way) และรางเคเบิล (cable tray) เป็นต้น 2. แบ่งตามวิธีการติดตั้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือการติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร – ในโรงงานและ การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคาร 5.1 การเดินสายไฟฟ้าในอาคารและในโรงงาน การเดินสายไฟฟ้าในอาคารหมายถึงการติดตั้งอุปกรณ์และเดินสายไฟฟ้าภายในตัวอาคารเริ่มตั่งแต่ แผงจ่ายไฟรวมเรื่อยมาถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัว ได้แก่ การเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสายการเดินสาย ไฟฟ้า ในท่อร้อยสาย เป็นต้น สำหรับการติดตั้งในโรงงาน ส่วนใหญ่จะเดินสายในท่อร้อยสาย รางเดินสาย (wire way) แล ะรางเคเบิล (cable tray) เป็นต้น 5.1.1 การเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย โดยทั่วไปจะใช้สายแบนแกนคู่หรือที่เรียกว่าสาย VAF มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น สามารถดัดโค้งงอและยืดหยุ่นได้ดี อายุการใช้งานยาวนานเกิน 10 ปี การเดินสายไฟฟ้าีนี้ ไม่เหมาะที่ จะใช้ติดตั้งภายนอกอาคาร เนื่องจากแสงแดดจะทำให้ฉนวนเสื่อมคุณภาพก่อนเวลาอันควร เมื่อฝนตก จะทำให้ลัดวงจร ข้อดีการเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย 1. ติดตั้งง่ายรวดเร็ว 2. ซ่อมแซมหรือแก้ไขได้ง่าย 3. ค่าแรงงานถูก รายละเอียดการเดินสายไฟฟ้าด้วยเข็มขัดรัดสาย สรุปได้ดังนี้ 1. สายไฟฟ้า จะต้องรู้ขนาดของสายไฟฟ้า (บอกเป็นตารางมิลลิเมตร (มม.)2) และจำนวนสาย กี่เส้น ถ้าหากใช้สายเล็กเกินไป จะทำให้สายร้อนจนฉนวนละลาย 2. เข็มขัดรัดสาย เมื่อทราบขนาดและจำนวนสายไฟฟ้าที่จะเดินไปยังจุดต่างๆ ช่างเดินสายไฟฟ้าจะต้องเลือกเข็มขัดรัดสายให้พอดี เพื่อความรวดเร็วขณะปฏิบัติงาน เมื่องานเสร็จสมบูรณ์จะมองดูสวยงาม มีหลักปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้ 2.1 กรณีเดินสายเส้นเดียว ควรเลือกขนาดเข็มรัดสายให้พอดีกับขนาดของสายไฟฟ้า 2.2 กรณีเดินสายตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป เช่นสายจำนวน 3 หรือ 4 เส้น ถ้าหากสามารถรัดด้วยเข็มขัดรัดสายเพียงตัวเดียว จะทำให้ปฏิบัติงานให้เร็วขึ้น แต่ควรพิจารณาถึงความแข็งแรงในการยึดระหว่างสายไฟกับผนังอาคาร 3. ตะปู อาคารที่เป็นไม้จะใช้ตะปูขนาด 1/2 นิ้ว ส่วนอาคารคอนกรีตฉาบปูนจะใช้ขนาด 5/16 นิ้ว หรือ 3/8 นิ้ว โดยทั่วไปช่างเดินสายไฟฟ้าจะทำกล่องไม้สำหรับจัดเก็บตะปู เข็มขัดรัดสาย ลักษณะดังรูป 5.1 การเดินสายไฟฟ้าในอาคารและในโรงงาน