จะรีบขับไปโดดตึกที่ไหน

จากสถิติอุบัติเหตุจราจรทางบกของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในทุกปีที่ผ่านมา บ่งชี้ว่าการขับรถเร็วเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุสูงสุดในบ้านเรา และมักจะเป็นอุบัติเหตุที่มีความสูญเสียที่รุนแรงทั้งต่อชีวิตคนและทรัพย์สิน 

                แม้ตามกฎหมายจะมีการกำหนดพิกัดค่าความเร็วไว้ตามประเภทของรถและเส้นทางแล้ว แต่โดยทั่วไป เรามักไม่ตระหนักถึงการใช้ความเร็วอย่างจำกัด ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือประมาท 


                
จากเหยื่ออุบัติเหตุบนท้องถนนที่มากมายหลายพันรายในทุก ๆ ปีนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรร่วมกันทบทวนการใช้ความเร็วของตนเอง เพราะเพียงแค่คุณเปลี่ยนแปลงความเร็วลดลงเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ก็จะส่งผลให้อัตราการตายลดลงด้วยถึง 4 เปอร์เซ็นต์ และถ้าคุณสามารถลดความเร็วลงได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ก็จะสามารถลดอัตราการตายลงได้ถึง 38 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะเท่ากับว่าคุณสามารถลดอัตราการตายลงได้ครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเลยทีเดียว 

                หากเป็นเช่นนี้แล้ว จะเป็นไรล่ะถ้าคุณจะลดความเร็วลงเพียงเล็กน้อย แล้วถึงบ้านช้ากว่าเดิมเพียงแค่ 5 นาที
คราวนี้ลองมาดูกันว่า เมื่อลองเปรียบเทียบความเร็วกับการตกจากตึกสูง การขับรถในชีวิตประจำวันของคุณจะอันตรายแค่ไหนหากรถเกิดการปะทะกัน

                
       เพียงแค่คุณใช้ความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเทียบเท่าการตกตึก 5 ชั้น


                
       เมื่อเพิ่มความเร็วเป็น 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเทียบเท่าการตกตึก 8 ชั้น


                
       เมื่อเพิ่มความเร็วเป็น 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเทียบเท่าการตกตึก 13 ชั้น


                
       เมื่อเพิ่มความเร็วเป็น 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเทียบเท่าการตกตึก 19 ชั้น



                คราวนี้ คุณคงเห็นแล้วใช่ไหมล่ะว่า เมื่อคุณอยู่ในแนวราบ คุณอาจไม่สามารถคาดการณ์ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับคุณได้ แต่เมื่อเทียบกับการกระแทกในแนวดิ่งตามพลังงานของแรงดึงดูดโลก แน่นอนว่าคงไม่มีใครคิดอยากจะโดดจากตึกใช่ไหมล่ะ 


                
รู้อย่างนี้แล้วทำไมคุณถึงจะเอาชีวิตตัวเองและคนที่คุณรักที่นั่งไปด้วยไปเสี่ยงกับความเร็วที่สร้างแรงกระแทกรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตขนาดนั้นได้เลยล่ะ ไม่อยากรีบไปเสียชีวิตแค่ไหน ก็แค่ขับรถให้ช้าลงหรือไม่ดื่มแล้วขับก็เท่านั้นเองล่ะครับ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


Anupong

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
เครื่องกล