|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย |
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2507 โดยเริ่มจากการเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง โบราณวัตถุที่จัดแสดงส่วนใหญ่ได้จากการขุดแต่งบูรณะปราสาทพิมาย การขุดแต่งบูรณะโบราณสถานและการขุดค้นทางโบราณคดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ ในปี พ.ศ. 2532 กรมศิลปากรได้พัฒนาปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑสถานวิทยา โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว ก่อสร้างอาคาร 3 หลังเชื่อมติดต่อกัน ระหว่าง พ.ศ. 2532 - 2536 จัดแสดงนิทรรศการถาวรและปรับปรุงภูมิทัศน์แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2536 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย นับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงถูกต้องตามหลักวิชาการพิพิธภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากลแห่ง หนึ่งในประเทศไทย
|
|
|
|
แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน |
ส่วนที่ 1 อาคารจัดแสดงชั้นบน จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของสังคมในดินแดนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แสดงถึงรากฐานการกำเนิดอารยธรรมซึ่งมีที่มาจากความเชื่อต่างๆ ตลอดจนอิทธิพลวัฒนธรรมภายนอกที่เข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน แบ่งเป็นห้องต่างๆ ดังนี้ 1. รากฐานวัฒนธรรม 2. ชุมชนแรกเริ่ม 3. อิทธิพลวัฒนธรรมเขมร 4. สุดท้ายแห่งสายวัฒนธรรมเขมร 5. อีสานดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
|
ส่วนที่ 2 อาคารจัดแสดงชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุร่วมสมัยศิลปะเขมร โบราณคดีและประวัติศาสตร์พิมาย กล่าวถึงกำเนิดเมือง การสร้างพุทธสถานประจำเมือง หลักฐานร่องรอยความเจริญด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ โดยศึกษาจากหลักฐานต่างๆ ที่พบในพิมายและจังหวัดใกล้เคียง โบราณวัตถุที่สำคัญ อาทิ ประติมากรรมรูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เครื่องถ้วยลพบุรีร่วมสมัยศิลปะเขมรและเครื่องทองประดับเทวรูปจากปราสาทบ้านถนนหัก อำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็นห้องต่างๆ ดังนี้ 1. พิมาย 2. ทับหลัง 3. สังคมวัฒนธรรมในอดีต 4. การอนุรักษ์วัฒนธรรมอีสาน
|
ส่วนที่ 3 อาคารจัดแสดงกลางแจ้ง จัดแสดงโบราณวัตถุซึ่งเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรมหินทราย อาทิ ทับหลัง หน้าบัน เสาประดับกรอบประตู กลีบขนุน บัวยอดปราสาท และปราสาทจำลอง ที่พบจากโบราณสถานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง นอกจากนี้บริเวณรอบอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ยังได้จัดแสดงใบเสมาและทับหลังที่สวยงามอีกด้วย
|
|
|
|
ประติมากรรมรูปพระเจ้าชัยวรมันที่7 |
แท่งหินสี่เหลี่ยม |
พระอิศวร |
พระพุทธรูปปางสมาธิ |
กระบังหน้า |
พระพุทธรูปนาคปรก |
ไหรูปช้างสามเศียร |
ทับหลังจำหลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ |
ซุ้มหน้าบัน |
|
|
|
|
|
ชื่อวัตถุ |
ประติมากรรมรูปพระเจ้าชัยวรมันที่7 |
|
ขนาด |
ตักกว้าง81.5ซม.สูง143ซม. |
|
อายุสมัย |
ศิลปะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน อายุประมาณ พ.ศ. 1720-1780 |
|
วัสดุที่ทำ |
หินทราย |
|
ประวัติ |
พบที่ปรางค์พรหมทัต ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา |
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อวัตถุ |
พระอิศวร |
|
ขนาด |
สูง 186.5 ซม. ฐานกว้าง 34.5 ซม. |
|
อายุสมัย |
ศิลปะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบาบวนอายุประมาณ พ.ศ.1560-1630 |
|
วัสดุที่ทำ |
สำริด |
|
ประวัติ |
พบที่ปราสาทสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ |
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อวัตถุ |
กระบังหน้า |
|
ขนาด |
กว้าง 4.5 ซม. ยาว 13 ซม. |
|
อายุสมัย |
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 16-18 |
|
วัสดุที่ทำ |
ทองคำ |
|
ประวัติ |
พบที่ปราสาทบ้านถนนหัก อำเภอหนองบุนนาก จังหวัดนครราชสีมา |
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อวัตถุ |
ไหรูปช้างสามเศียร |
|
ขนาด |
ปากกว้าง 12.7 ซม. สูง 30.6 ซม. |
|
อายุสมัย |
ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 15-18 |
|
วัสดุที่ทำ |
ดินเผาเคลือบ |
|
ประวัติ |
สถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านบัว อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ยึดจากผู้เก็บหรือขุดพบ นำส่ง พช. พิมาย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2535 |
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อวัตถุ |
ซุ้มหน้าบัน |
|
ขนาด |
กว้าง 302 ซม. สูง 262 ซม. หนา 30 ซม. |
|
อายุสมัย |
ศิลปะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบคลัง-บาปวน |
|
วัสดุที่ทำ |
หินทราย |
|
ประวัติ |
พบที่ปราสาทเมืองต่ำ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ |
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อวัตถุ |
แท่งหินสี่เหลี่ยม |
|
ขนาด |
ยาว 57 ซม. สูง 51 ซม. หนา 18 ซม. |
|
อายุสมัย |
ศิลปะร่วมสมัยศิลปะเขมร พุทธศตวรรษที่16-18 |
|
วัสดุที่ทำ |
หินทราย |
|
ประวัติ |
พบที่ปราสาทพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ |
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อวัตถุ |
พระพุทธรูปปางสมาธิ |
|
ขนาด |
ตักกว้าง 11.3 ซม. สูง 17 ซม. |
|
อายุสมัย |
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 13-14 |
|
วัสดุที่ทำ |
สำริด |
|
ประวัติ |
นายประจน ดอนกัญหา บ้านเลขที่ 158 หมู่ที่ 3 ตำบลหูทำนบ อำเภอประคำ จังหวัดบุรีรัมย์ มอบให้เมื่อ 22 พฤษภาคม 2530 |
|
|
|
|
|
|
|
ชื่อวัตถุ |
พระพุทธรูปนาคปรก |
|
ขนาด |
ตักกว้าง 11 ซม. สูง 23 ซม. |
|
อายุสมัย |
ศิลปะลพบุรี |
|
วัสดุที่ทำ |
หินทราย |
|
ประวัติ |
พบที่ปราสาทพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา |
|
|
|
|
|
|
|