Android คือ
Android คือ
มารู้จัก แอนดรอยด์ (Android) กันว่ามันคืออะไร
อุปกรณ์ หรือเครื่องไม้เครื่องมือในปัจจุบันที่มีรูปร่างลักษณะการทำงานเหมือนกับ Computer คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ที่ทุกคนรู้จักกันจำเป็นจะต้องมี ระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System) ไว้ใช้สำหรับเป็นสื่อกลางในการที่จะให้มนุษย์สั่งการให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ IT ต่างๆ ทำงานตามที่ผู้ใช้งาน (User) ตามที่ต้องการ โดยอยากให้ท่านผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ลองนึกถึงโปรแกรมที่เราใช้งานกันบ่อยๆ คือ Microsoft Office, Firefox, Winamp เป็นต้น เราเรียกโปรแกรมเหล่านี้ว่า Aplication Software แปลได้คือ ซอฟท์แวร์ประยุกต์ โดยเจ้าพวกซอฟท์แวร์ประยุกต์เหล่านี้ จะลงให้เราใช้งานไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ลง ระบบปฏิบัติการก่อน ดังนั้น หากเราต้องการใช้งาน แท็บเล็ต แต่เราไม่มี ระบบปฏิบัติการ ..... เราจะใช้งานได้อย่างไร มันคงเหมือน เศษเหล็กชิ้นหนึ่ง ที่สื่อสารกับ มนุษย์ไม่รู้เรื่อง ร่ายมาซะยาว ก็ประมาณนี้น่ะครับ
ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบปฏิบัติการ บน แท็บเล็ต (Tablet) โดยในปัจจุบัน ระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมมีอยู่ 3 ระบบ คือ IOS (iphone operating system) ผู้ผลิตคือบริษัท Apple , Android (พระเอกของเรา) ผู้ผลิตคือบริษัท Google นั่นเอง และ Window Phone ผู้ผลิตคือบริษัท Microsoft โดยในบทนี้เราจะเน้นไปทาง ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ (Android) เพราะเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้ติดตั้งมากับเจ้า แท็บเล็ต OTPC ตามโครงการ One Tablet Per Child น่ะครับ
แอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (อังกฤษ: Android Inc.) จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance[2] ทางกูเกิลได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น โดยแอนดรอยด์ (Android) ถูกตั้งชื่อเลียนแบบหุ่นยนต์ในเรื่อง สตาร์วอร์ส ที่ชื่อดรอยด์ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์เป็นซอฟท์แวร์ระบบปฏิบัติการที่มีโครงสร้างแบบเรียงทับซ้อนหรือแบบสแต็ก (Stack) โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล(Linux Kernel) เป็นพื้นฐานของระบบ และใช้ภาษา Java ในการพัฒนา มี Android SDK เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ อีกทีหนึ่ง โดยระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยบริษัทแอนดรอย์ดร่วมกับ Google จากั้นเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้มีการร่วมมือกันกว่า 30 บริษัทชั้นนำเพื่อพัฒนาระบบ
แอนดรอยด์ (Android) เปิดให้เป็น Open Source คือทุกค่าย ทุกแบรนด์ สามารถนำไปแก้ไขดัดแปลง รวมทั้ง สร้าง Android ที่เป็นในแบบของตนเองก็ได้ ทำให้เราเห็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือ แท็บเล็ต (Tablet) มากมายที่ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ แตกต่างกับ IOS ของบริษัท Apple ที่จะมีเพียง สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัท Apple เท่านั้นที่สามารถใช้งาน โดย Android ก็มีการ วิวัฒนาการของแอนดรอยด์ หรือการพัฒนามาเรื่อย ๆ โดยปัจจุบัน เวอร์ชั่นล่าสุดคือ Android 4.1 Jelly Bean แต่ ทาง Google ยังไม่เปิดให้ทางผู้ผลิต แท็บเล็ต หรือ โทรศัพท์ (Smart Phone) ได้นำไปใช้งาน จะมีเพียงแต่ สินค้าตระกูล Nexus ของทาง Google เองที่จะได้รับสิทธิในการใช้งาน Android Jelly Bean โดยมี Smartphone ตระกูล Nexus Searies ซึ่งชื่อว่า Galaxy Nexus ทีทาง Samsung เป็นผู้ผลิตให้ และยังมี แท็บเล็ตตระกูล Nexus 7 Tablet เป็นบริษัท Asus ที่เป็นผู้ผลิตให้
โดย Nexus7 ขณะนี้ยอดขายดีมาก จนยอดจองบางรุ่น เช่นรุ่น 16GB ได้หยุดการสั่งซื้อ สั่งจองแล้ว
ภาพตัวอย่าง แท็บเล็ตของ Google (Asus Nexus 7 Tablet - Android Jelly Bean 4.1)
ภาพตัวอย่าง โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ของ Google (Smartphone Samsung Galaxy Nexus - Android Jelly Bean 4.1)
ความร่วมมือมีเป้าหมายในการส่งเสริมนวัตกรรมบนเครื่องมือสื่อสารเพื่อให้ได้รับประสการณ์ที่เหนือกว่าแพลตฟอร์มโมบายทั่วไปที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ การนำเสนอมิติใหม่ของแพลตฟอร์ม (Platform)ระบบเปิดใหแก่นักพัมนาจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแอนดรอยด์ (Android) จะช่วยเร่งและผลักดันบริการระบบสื่อสารรูปแบบใหม่ไปส่ผู้บริโภคได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
มาเรียนรู้เพิ่มเติมขั้นสูงเกี่ยวกับ ประเภทของ แอนดรอยด์ น่ะครับ
(คำเตือน มีศัพท์เทคนิคต้องตั้งใจอ่าน นิดหนึ่ง)
ประเภทของชุดซอฟท์แวร์ เนื่องจากแอนดรอยด์ (Android) เปิดให้นักพัฒนาเข้าไปชมรหัสต้นฉบับได้ทำให้มีผู้พัฒนาจากหลายฝ่ายนำเอารหัสต้นฉบับมาปรับแต่ง และสร้างแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนเองขึ้นสามารถแบ่งประเภทของแอนดรอยด์ออกได้เป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้
- Android Open SourceProject (AOSP) เป็นแอนดรอยด์ประเภทแรกที่กูเกิล (Google) เปิดให้สามารถนำต้นฉบับแบบเปิด ไปติดตั้งและใช้งานในอุปกรณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
- Open Handset Mobile (OHM) เป็นแอนดรอยด์ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกับกลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พกพา ที่เข้าร่วมกับกูเกิลในนาม Open Handset Alliances (OHA) บริษัทเหล่านี้จะพัฒนาแอนดรอยด์ในแบบฉบับของตนออกมา โดยรูปร่างหน้าตา การแสดงผล และพังก์ชั่นการใช้งาน จะมีความเป็นเอกลักษณ์ และมีลิขสิทธิ์เป็นของตน พร้อมได้รับสิทธิ์ในการมีบริการเสริมต่างๆ จากกูเกิล ที่เรียกว่า Google Mobile Service (GMS) ซึ่งเป็นบริการเสริมที่ทำให้แอนดรอยด์มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามจุดประสงค์ของแอนดรอยด์ แต่การจะได้มาซึ่ง GMS นั้น ผู้ผลิตจะต้องทำการทดสอบระบบ และขออนุญาตกับทางกูเกิลก่อน จึงจะนำเครื่องออกสู่ตลาดได้
- Cooking หรือ Customize เป็นแอนดรอยด์ที่นักพัฒนานำเอารหัสต้นฉบับจากแหล่งต่างๆ มาปรับแต่งในแบบฉบับของตนเอง โดยจะต้องทำการปลดล็อคสิทธิ์การใช้งานอุปกรณ์ หรือ Unlock เครื่องก่อนจึงจะสามารถติดตั้งได้
แอนดรอยด์ประเภทนี้ถือเป็นประเภทที่มีความสามารถมากที่สุดเท่าที่อุปกรณ์เครื่องนั้นๆ จะรองรับได้ เนื่องจากได้รับการปรับแต่งให้เข้ากับอุปกรณ์นั้นๆ จากผู้ใช้งานจริง